แอร์การ์ด

แอร์การ์ด
ท่องโลกอินเตอร์เน็ทง่ายกว่าที่คุณคิด

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แอร์การ์ด (AirCard)

แอร์การ์ด

          แอร์การ์ด คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Laptop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูง  โดยผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อ เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไป แล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์โทรเข้า - ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหน ขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น

ความแตกต่างระหว่าง แอร์การ์ด กับ ระบบ Wi-Fi

          Wi-Fi คือคุณสมบัติอันหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ได้แบบไร้สาย (Wireless LAN) ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตรจากตัวแม่ข่ายของ Wi-Fi นั้นๆ หากไม่มีตัวแม่ข่ายการสื่อสารข้อมูลก็จะทำไม่ได้

          แอร์การ์ด คือ โมเด็มอย่างหนึ่ง ที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ  ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite  ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

คุณสมบัติที่ควรมีใน แอร์การ์ด

          1. สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้หลากหลายระบบ เช่น Window Vista, Window XP, Window ME, Window 2000, Windows 7 หรือ Mac OSX ใช้งานโดยเสียบเข้ากับ Port ยูเอสบีได้ หรือไม่ก็ใช้ช่อง Slot PCMCIA ของ Labtop

          2. สามารถอัพเกรดเฟิร์มแวร์ได้ โดยใช้งานได้ทั้งกับเครือข่าย UMTS/ EDGE/ GSM

          3. สามารถรองรับซิมของระบบโทรศัพท์มือถือบ้านเราได้ทุกค่าย รองรับระบบ 3G 850/1900/2100 และ EDGE Class 12/ GPRS Class 12

          4. ควรเลือก แอร์การ์ด ที่กินไฟน้อย เพราะเหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องโน้ตบุ๊ค หากเราใช้ แอร์การ์ด ที่กินไฟมากๆ พลังงานในแบตเตอรี่ของเครื่องก็จะหมดเร็วไปด้วย

          5. แอร์การ์ด ชนิด USB จะใช้งานคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากจะสามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น PC , Notebook , Mac Book  และ ชนิด USB นั้น จะส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่า แอร์การ์ด ชนิด Pcmcia และ Express slot


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://guru.sanook.com/6659/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น