แอร์การ์ด

แอร์การ์ด
ท่องโลกอินเตอร์เน็ทง่ายกว่าที่คุณคิด

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ม.บูรพา ดังกระฉ่อน เหตุนิสิตนักศึกษา ป.เอก ทำแบบนี้กับมหาวิทยาลัย!?

ม.บูรพา

       นิสิต ป.เอก สาขาการจัดการสาธารณะ รุ่นที่ 7 วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา จัดเสวนา “แนวทางการแก้วิกฤตมหาวิทยาลัยไทยโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หวังนำเสนอแนวคิดในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการบริหารมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อองค์กร

       วันนี้ (4 มิ.ย.) ตัวแทนนิสิต และนิสิตปริญญาเอก สาขาการจัดการสาธารณะ รุ่นที่ 7 วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา ได้ร่วมกันจัดการเสวนาเรื่อง “แนวทางการแก้วิกฤตมหาวิทยาลัยไทยโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 8 วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา และรองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นประธานเปิดการเสวนา และมี นายภวัต เลิศมุกดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา ผู้ประนอมศาล ศาลอุทธรณ์ ผู้ประนอมศาล ศาลจังหวัดพัทยา ผู้ประนอมศาล ศาลอาญา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 2 รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร นิสิตระดับปริญญาเอก และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกว่า 250 คน

ม.บูรพา
     
       สำหรับการสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษาได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารมหาวิทยาลัย และยังเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีนิพนธ์ สาขาการจัดการสาธารณะ ได้จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการแก่บุคคลทั่วไปในลักษณะการบริการวิชาการแก่สังคม
     
       ทั้งนี้ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรการจัดการสาธารณะ มาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบัน มีนิสิตที่เรียนในสาขาวิชานี้ทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอกกว่า 300 คน และการเรียนการสอนรายวิชาสัมมนาภูมิเศรษฐกิจสังคมตามแนวพระราชดำริ ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นผู้สอนในรายวิชาดังกล่าว และได้กำหนดให้มีการสัมมนา หรือเสวนาขึ้น 2 ครั้ง เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์จริง และได้รับความรู้ครบทุกแง่มุม

ม.บูรพา
     
       โดยการจัดเสวนาในครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ดร.สุภัทร จำปาทอง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ลลิต ถนอมสิงห์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าว
     
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ ) ลลิต กล่าวว่า จากรายงานของนิสิตปริญญาเอก สาขาการจัดการสาธารณะรุ่นที่ 7 พบว่า หัวข้อการเสวนาในวันนี้ ถือเป็นเรื่องที่สอดคล้องต่อสภาพของระบบการศึกษา ที่หากได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยของไทย ก็จะส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศชาติต่อไป
     
       ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา กล่าวว่า นโยบายในการจัดการบริหารวิชาการแก่สังคมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายถือเป็นนโยบายสำคัญของวิทยาลัยฯ และในครั้งนี้ วิทยาลัยฯ ยังได้ร่วมกับคณะนิสิตปริญญาเอก สาขาการจัดการสาธารณะรุ่นที่ 7 จัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาจากหลายภาคส่วน

ม.บูรพา
     
       เช่น หน่วยงานยุติธรรม คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนผู้สนใจด้านการศึกษาได้รับความรู้ หลังพบว่า ในช่วงระยะประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยต้องเผชิญต่อปัญหามากมายที่ทำให้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเสียหาย ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
     
       เช่น เรื่องความขัดแย้งในการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย จนถึงขั้นปรากฏเป็นข่าว เรื่องการฟ้องร้องระหว่างอาจารย์ต่ออาจารย์ หรืออาจารย์ต่อผู้บริหาร เป็นต้น

คลิป นิสิต ป.เอก วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ ม.บูรพา นำปรัชญา ศก.พอเพียงแก้วิกฤตมหาวิทยาลัย

       
       สำหรับการจัดเสวนาในครั้งนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารกิจการมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา และยังเป็นการสร้างธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยเพื่อให้ข้ามพ้นวิกฤตเหล่านั้นไปได้ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะมีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ผู้มีส่วนได้เสีย และมหาวิทยาลัยนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมในการบริหารกิจการภายในของแต่ละแห่งต่อไป


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000056097

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น